• Home
  • Find Stores

Enter your Keyword

News

ผนังระบบ Wall form กับเทคนิคการตกแต่งผิวให้เป๊ะ ส่งงานให้ผ่านฉลุย

ผนังระบบ Wall form กับเทคนิคการตกแต่งผิวให้เป๊ะ ส่งงานให้ผ่านฉลุย

ปัจจุบันทางเลือกในการก่อผนัง หรือเนรมิตผนังขึ้นมา คงมีหลากหลายทางเลือก ในความคิดพี่ๆผู้รับเหมาอย่างเรา มีผนังประเภทไหนกันบ้างคะ? คงจะไม่พ้น ผนังก่ออิฐ , ผนังโครงเบา ด้วยแผ่นไม้อัด ซีเมนต์บอร์ด ยิปซัม ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดี ข้อเสีย และความเหมาะสมของแต่ละประเภทงานที่แตกต่างกันไป และวันนี้ทีมงานบิลค์จะมานำเสนอ ผนังระบบ Wall​ form หรือที่หลายคนเรียกว่า ผนังหล่อในที่ และเทคนิคการใช้ ปูนฉาบผิวบาง ให้เนียนกริ๊บ นั่นเองค่ะ

 

Wall form คืออะไร เหมาะกับงานประเภทไหนบ้าง?

Wall form คือ แบบเหล็กหล่อผนัง สำหรับใช้หล่อผนังคอนกรีตเสริมเหล็กในที่ (CAST IN PLACE) โดยนิยมใช้สำหรับหล่อผนังบ้านชั้นเดียวหรือในส่วนของผนังชั้น 2 ของอาคารทั่วไปได้อีกด้วย  อีกทั้งยังมีระบบก่อสร้างที่ใช้ระบบ Tunnel Form ในการหล่อพื้นชั้นบน-ผนังชั้นล่าง ในคราวเดียวกัน ซึ่งเหมาะกับใช้ในงานโครงการบ้านจัดสรรทั้งกลุ่มอาคารทาวน์เฮ้าส์ (TOWNHOUSE) หรือทาวน์โฮม (TOWNHOME) เป็นอย่างมาก หรือแม้กระทั่งบ้านเดี่ยว (SINGLE HOUSE) ก็สามารถใช้ระบบนี้ในการก่อสร้างได้


ขอขอบคุณภาพจาก KTHAI STEEL WORK Co.,Ltd.

Wall form ดีอย่างไร?

ระบบก่อสร้างนี้ถือเป็นโครงสร้างแบบผนังรับน้ำหนักแบบหล่อในที่ หรือ Load bearing wall structure ซึ่งสามารถออกแบบผนังให้สอดคล้องกับการรับน้ำหนักโครงสร้างส่วนอื่นๆรวมถึงงานโครงสร้างหลังคาด้วย ทำให้ช่วยลดขั้นตอนงานก่อสร้างนั่นเอง การใช้ผนัง Wall form จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการก่อสร้างไม่ว่าจะด้วยเรื่องคุณภาพ ความแข็งแรง ลดระยะเวลาในการก่อสร้าง ลดรอยต่อวัสดุ รวมถึงสิ่งสำคัญอย่างเรื่องงบประมาณก่อสร้างที่น้อยลงจากการใช้แรงงานคนและระยะเวลาก่อสร้างที่น้อยกว่าระบบก่อสร้างปกติ ดีสุดๆ

ต้องเก็บงานอย่างไรดี ให้ส่งงานผ่านฉลุย!

ผลลัพธ์ที่ได้จากการเทคอนกรีตโดยใช้แบบเหล็กนั้นผนังจะมีฟองอากาศ มีรอยตามด ไม่เรียบเนียน จึงต้องการการตกแต่งผิวเพียงเล็กน้อย เพื่อเก็บงานผนัง(Skimming) ซึ่งประหยัดเวลาและวัสดุกว่าระบบก่อฉาบ หรือแม้แต่ระบบผนังสำเร็จรูป(Precast) ซึ่งมีรอยต่อชิ้นผนังมาก ทำให้เพิ่มโอกาสการรั่วซึมและมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งค่อนข้างสูง ระบบก่อสร้างนี้ถือเป็นโครงสร้างแบบผนังรับน้ำหนักแบบหล่อในที่ หรือ Load bearing wall structure ซึ่งสามารถออกแบบผนังให้สอดคล้องกับโครงสร้างหลังคา ทำให้ช่วยลดขั้นตอนงานก่อสร้างนั่นเอง

การแก้ไขปัญหาผิวผนังไม่เรียบเนียน

หากเกิดปัญหาผิวผนังไม่เรียบเนียน ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เทคนิคที่หลายคนเลือกให้​เป็นตัวช่วยช่างที่ทำให้หลายๆผู้รับเหมาส่งงานผ่านเรียบร้อย​มานักต่อนัก นั่นคือการใช้ปูนสกิมโคท นั่นเอง เพียงฉาบบางๆทับครั้งเดียวก็สามารถปิดรอยได้ ซึ่งปูนสกิมโคทสามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้หากเป็นงานแก้ไขผิวโชว์คอนกรีตเปลือยควรที่จะเลือกสีปูนเป็นสีเทาเพื่อที่จะทำให้มีความกลมกลืนกับผนังอย่างลงตัวนั่นเอง

เคล็ด(ไม่)ลับ ในการสกิมตกแต่งผนัง ด้วย ปูนฉาบผิวบาง สีเทาตราลูกดิ่ง

ต้องบอกก่อนเลยว่าการทำงานทุกประเภทนั้นมีเทคนิคของแต่ละงาน และการสกิมตกแต่งผนัง ด้วยปูนฉาบผิวบางสีเทาตราลูกดิ่งก็มีเทคนิคเฉพาะตัวที่ช่วยให้งานออกมาเป๊ะ ซึ่งตอบโจทย์งาน Wall form และเก็บงานผนังคอนกรีตอื่น ๆ ด้วย ทั้งนี้ปูนฉาบผิวบางดังกล่าวนั้นใช้เพื่อตกแต่ง แก้ไข ผิวผนัง และยังมีมีคุณสมบัติเนื้อปูนที่เหนียว นุ่ม ลื่น เนื้อละเอียด ช่วยให้ฉาบง่าย ขัดง่าย และได้ผนังที่เรียบเนียนสวย


ก่อนอื่นเลย เราต้องเตรียมอุปกรณ์ในการทำงานก่อนนะคะ ได้แก่…
1. กระป๋องสำหรับผสมปูน                       2.เกรียงใบโพธิ์                                            3.สว่างไฟฟ้า+หัวปั่นปูน
4.เกรียงเหล็ก                                         5.แปรงตีน้ำ                                                 6.กระดาษทรายชนิดละเอียด เบอร์ 100 ขึ้นไป

หลังจากอุปกรณ์ครบแล้ว เราจะมาทำการเตรียมพื้นผิวด้วยการทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาด โดยใช้แปรงตีน้ำปาดเศษผงที่ติดกับพื้นผิวที่จะทำให้การฉาบออกให้หมด

การผสม ปูนฉาบผิวบาง

และก็ถึงขั้นตอนสำคัญ นั่นก็คือ การผสม ปูนฉาบผิวบาง ในการใช้งานมีสิ่งที่พึงระวัง คือ หลายคนอาจจะเคยชินกับการผสมปูนครั้งละเยอะๆ แต่เพื่อคุณภาพ แนะนำให้ผสมครั้งละ 1 กระป๋องปูนเท่านั้น โดยใช้ปูน 1 ส่วน ต่อน้ำสะอาด 0.47-0.50 ส่วน ให้ได้เนื้อปูนข้นเหลว เป็นครีม ไม่มีเม็ด และเมื่อเติมน้ำลงไป ให้ใช้เกรียงใบโพธิ์กวนปูนก่อน หลังจากนั้นใช้สว่านไฟฟ้าปั่นให้ได้ข้น-เหลว ตามงานฉาบบาง

ปูนฉาบผิวบาง

ขั้นตอนการฉาบ ปูนฉาบผิวบาง

สำหรับขั้นตอนการฉาบ เราแค่ใช้เกรียงเหล็กฉาบรีดบางจนเต็มผนัง จากนั้นรอปูนให้แห้งหมาด จึงฉาบแต่งผิวหนาให้ได้ความนานเพียง 1 มิลลิเมตร แต่หากพบว่าผิวเป็นคลื่นหรือเป็นแอ่ง ให้ใช้ไม้สามเหลี่ยมหาระนาบ เพื่อฉาบแต่งเติมปูนให้ได้ระนาบตามที่ต้องการแล้วจึงปรับความเรียบร้อยโดยใช้เกรียงเหล็กปาดหน้าซ้ำให้เรียบเสมอ แล้วทิ้งปูนให้แห้งสนิทประมาณ 4-6 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ) แล้วขัดแต่งโดยการลูบเบาๆด้วยกระดาษทรายที่เตรียมไว้ และใช้ฟองน้ำชุบพอหมาด ทำความสะอาดฝุ่นแล้วทิ้งไว้ให้แห้งสนิทอย่างน้อย 1-2  วัน จึงทาสีได้

 

“เทคนิคการฉาบผิวบางหรือสกิมโคท นอกจากจะช่วยให้งานเป๊ะ ส่งงานได้ผ่านฉลุย ยังช่วยให้เราสามารถประหยัดสีทาบ้านอีกด้วย ฉะนั้นอย่าลืมนะคะ หากต้องการตกแต่งผิว ต้องปูนฉาบผิวบางสีเทาตราลูกดิ่ง

Related Articles